4 กองทุน RMF เด่นปี 2567 สำหรับวางแผนกองทุนมนุษย์เงินเดือน

Retirement Mutual Fund หรือ RMF คือ “กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ” ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไทยมีช่องทางในการออมเงินเพื่อใช้สำหรับในช่วงวัยเกษียณ เป็นกองทุนรวมที่เมื่อเริ่มมีการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยต้องลงทุนแบบปีเว้นปี โดยผู้ลงทุนจะขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เกษียณอายุจากการทำงานพอดี

มนุษย์เงินเดือนวางแผนซื้อกองทุน RMF อย่างไรดี

กองทุน RMF นับเป็นกองทุนรวมที่ตอบโจทย์สำหรับวัยทำงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เงินเดือนด้วยแล้ว ควรวางแผนในการซื้อกองทุนรวม RMF เนื่องจากหลังจากที่เกษียณอายุ มนุษย์เงินเดือนจะขาดรายได้ที่เคยได้รับ ดังนั้นการวางแผนเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการซื้อ RMF ก็ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี

อันดับแรกสำหรับการวางแผนเพื่อซื้อกองทุน RMF สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนจะต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน RMF นั่นคือ

  1. ช่วยลดภาษี กองทุน RMF ทุกกองทุนไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ด้วยการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของรายได้ในปีนั้น แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  2. RMF ซื้อได้เท่าไหร่ การหาจำนวนเงินสูงสุดที่ซื้อได้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ทั้งปี เมื่อนำไปรวมกับการการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  3. การถือครองหน่วยลงทุน กองทุน RMF ต้องมีการลงทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่เริ่มซื้อ และซื้อต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ถึงจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ ซึ่งหากมีการซื้อ RMF เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นกองเดิมหรือกองใหม่ ก็จะใช้วิธีนับต่อจากการซื้อครั้งแรก
  4. เงื่อนไขการขายกองทุนรวม RMF นอกจากการถือครอง 5 ปีแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์เท่านั้น จึงจะสามารถขายคืนได้แบบไม่ผิดเงื่อนไข
  5. ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ RMF แต่จะต้องมีการลงทุนต่อเนื่อง สามารถเว้นได้ไม่เกิน 1 ปี หรือลงทุน RMF แบบปีเว้นปี
  6. สับเปลี่ยนการลงทุนระหว่าง RMF ได้ ผู้ลงทุนสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนในกองทุน RMF ไปยัง RMF กองอื่น ๆ ที่มีให้เลือกได้ ถือว่าไม่ผิดเงื่อนไข

หากทำผิดเงื่อนไขกองทุน RMF ต้องจัดการอย่างไรดี

กรณีที่ผู้ลงทุนมีการทำผิดเงื่อนไขการซื้อ RMF จะต้องถูกตัดสิทธิประโยชน์ในการซื้อ RMF ลดหย่อนภาษี และต้องดำเนินขั้นตอนต่างๆ เพิ่มเติม ตามการผิดเงื่อนไขแต่ละกรณี คือ

1.ซื้อเกินสิทธิที่ซื้อได้

  • หากยังไม่ได้นำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษี และเป็นการซื้อ RMF ปีแรก สามารถขายคืนส่วนที่เกินสิทธิในปีนั้น ๆ ได้ และหากมีกำไรจากการขายหน่วยลงทุน RMF จะต้องนำไปคิดเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษีในปีนั้น ๆ ด้วย
  • หากเคยซื้อกองทุน RMF มาแล้ว และปีนี้ซื้อเกินสิทธิ ไม่ควรขาย เพราะ RMF บันทึกต้นทุน Average Cost เพราะหากขาย จะไม่ได้ขายยอดที่ซื้อในปีนี้ ดังนั้น ควรรอขายคืนเมื่อครบอายุกองทุน RMF แล้วนำกำไรจากการขายคืนส่วนที่เกินสิทธิไปยื่นภาษีรวมกับเงินได้ในปีนั้น ๆ

2.ขาย RMF คืนก่อนอายุครบ 55 ปี และลงทุนน้อยกว่า 5 ปี

ผู้ลงทุนต้องคืนภาษีทั้งหมดที่ได้สิทธิลดหย่อนไป พร้อมเบี้ยปรับเพิ่มเติมร้อยละ 1.5 ต่อเดือน จากยอดที่ต้องคืนภาษี หากจ่ายคืนล่าช้า กำไรที่ได้จากการขายคืนนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีในปีที่ขาย หากขาย RMF ไปแล้ว และยื่นภาษีภายในมีนาคมของปีถัดไปเราจะไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน

3.ขาย RMF คืนก่อนอายุครบ 55 ปี แต่ลงทุนมากกว่า 5 ปี

ผู้ลงทุนต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลังที่ได้สิทธิลดหย่อน ซึ่งมีเบี้ยปรับเพิ่มเติมร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหากจ่ายคืนล่าช้า โดยปรับจากยอดที่ต้องคืนภาษี เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่ขายผิดเงื่อนไข แต่ไม่ต้องนำกำไรจากการขายไปรวมกับเงินได้เพื่อคำนวณภาษี

4.ลืมลงทุน RMF เกิน 1 ปีติดต่อกัน

ผู้ลงทุนต้องคืนภาษี 5 ปีย้อนหลังที่ได้สิทธิลดหย่อน ซึ่งมีเบี้ยปรับเพิ่มเติมร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหากจ่ายคืนล่าช้า โดยปรับจากยอดที่ต้องคืนภาษี เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่ผิดเงื่อนไข

เมื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนการดำเนินการหากทำผิดเงื่อนไขแล้ว หน้าที่ของมนุษย์เงินเดือนที่มีความสนใจซื้อกองทุนรวม RMF ก็คือ การทำตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กองทุนกำหนดเพื่อให้สามารถรับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและออมเงินเพื่อการเกษียณได้อย่างเต็มที่ โดยอาจจะวางแผนด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  1. คำนวณรายรับ-รายจ่าย และสภาพคล่องทางการเงินของตนเองในแต่ละเดือนให้ดี และต้องมั่นใจว่าจะสามารถมีเงินเย็นเพียงพอที่จะใช้ในการลงทุนในกองทุน RMF เพราะเงินจำนวนนี้จะไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ หากต้องการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเต็มที่ และต้องการออมเงินเพื่อการเกษียณอย่างแท้จริง
  2. คำนวณรายได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ทั้งหมดให้เรียบร้อย เพื่อคำนวณว่าจะสามารถซื้อกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้เพิ่มอีกเท่าไหร่ที่คุ้มค่าที่สุด
  3. วางแผนแบ่งสัดส่วนการออมเงินเพื่อการเกษียณ ทั้งจากการซื้อ RMF หรือการออมและกองทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกินจำนวนสูงสุด คือ 500,000 บาท
  4. ศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม RMF ที่ตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยอาจจะศึกษาจากข้อมูลของ RMF แนะนำ หรือจากสินทรัพย์ที่สนใจ
  5. ลงทุนกับกองทุน RMF ที่มั่นใจ อย่าลืมหมั่นตรวจสอบการเติบโต ความผันผวนที่เกิดจากการลงทุน เพื่อปรับสัดส่วนกองทุน หรือสับเปลี่ยนกองทุน RMF หากจำเป็น และรอเวลาในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เมื่อครบกำหนด 55 ปี

เลือกกองทุน RMF ที่ใช่ วางแผนเกษียณตั้งแต่เนิ่นๆ

การเลือกกองทุน RMF นั้นถือเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญของการวางแผนการเกษียณ เพราะหากเลือกกองทุน RMF ได้ตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของตนเอง ก็จะทำให้มีโอกาสที่จะไปถึงเป้าหมายเกษียณได้ตามที่วางแผนไว้ โดยการเลือกกองทุน RMF ที่ใช่ ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ หากมีการศึกษาข้อมูลกองทุน RMF ที่หลากหลายมากเพียงพอ หรืออาจจะขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงิน การลงทุน และการลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นในการเลือกกองทุน RMF ก็ได้ จะได้ไม่เสียโอกาสในการลงทุน

เริ่มต้นลงทุน RMF ทำได้อย่างไร

สำหรับใครที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการวางแผนเกษียณ และกำลังสนใจการลงทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนของเงินลงทุนที่สูงขึ้นอย่าง RMF ก็สามารถเริ่มต้นลงทุน RMF ได้เลย วิธีการลงทุนในกองทุน RMF สามารถทำได้ดังนี้

1. ศึกษาข้อมูลรายละเอียดของกองทุน RMF ที่สนใจ

เพื่อดูว่ากองทุนนั้นๆ มีนโยบายการลงทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการในการลงทุนเพื่อการเกษียณของตนเองมากน้อยแค่ไหน และควรเลือกกองทุนที่มีระดับความเสี่ยงที่ตนเองสามารถยอมรับได้ โดยอาจจะทำแบบประเมินความเสี่ยงประกอบการพิจารณา เพื่อให้ลงทุนได้อย่างสบายใจ

2. เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวม RMF

หากผู้ลงทุนยังไม่เคยซื้อกองทุนรวมมาก่อน สามารถเปิดบัญชีซื้อขายได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หากมีบัญชีซื้อขายแล้ว ก็สามารถเลือกซื้อได้เลย

3. ลงทุนตามสิทธิที่ได้รับ อย่าให้เกิน

ไม่ควรลงทุนเกินเงื่อนไขที่กองทุน RMF ระบุไว้ เพราะการลงทุน RMF เกินสิทธิ มีแต่จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการลงทุน เสียทั้งเวลา และอาจต้องเสียภาษีเพิ่มด้วย

4. กระจายการลงทุน RMF ในสินทรัพย์ที่หลากหลาย

ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการลงทุนไว้ในที่เดียวในระยะยาว นอกจากนี้การเลือกลงทุนกับกองทุน RMF ที่มีนโยบายการลงทุน และระดับความเสี่ยงของกองทุนที่แตกต่างกัน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีกด้วย

5. หมั่นลงทุน RMF อย่างต่อเนื่อง

ด้วยเงื่อนไขที่ต้องลงทุนเพิ่มอย่างน้อยปีเว้นปี อาจจะเลือกวางแผนการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ DCA (Dollar-Cost Averaging) แบบหักอัตโนมัติ ด้วยการลงทุนในจำนวนเงินที่เท่า ๆ กันในแต่ละเดือนอย่างสม่ำเสมอ ข้อดีของการลงทุนวิธีนี้ คือ จะช่วยเฉลี่ยต้นทุน และไม่ต้องกังวลว่าจะลืมซื้อ RMF

6. หมั่นปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนในกองทุนรวม RMF

เนื่องจากการซื้อ RMF เป็นการลงทุนระยะยาว ซึ่งโอกาสที่ตลาดการลงทุน หรือสินทรัพย์ต่าง ๆ จะมีความผันผวนก็เป็นได้ตลอดเวลา ดังนั้นการหมั่นปรับสมดุลพอร์ต RMF จึงจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าได้

4 กองทุน RMF แนะนำจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สำหรับใครที่กำลังสนใจลงทุนในกองทุน RMF แต่ยังคิดไม่ตกว่าควรลงทุนในกองทุนรวม RMF กองไหนดี ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มี 4 กองทุน RMF 2567 ที่โดดเด่นและน่าสนใจมาแนะนำ เหมาะสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีความต้องการใช้ RMF ลดหย่อนภาษี สามารถเลือกพิจารณาได้เลย

1. กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารหนี้ / กลุ่มกองทุนรวม Mid Term General Bond
ระดับความเสี่ยง: ระดับ 4 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ

สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนตราสารหนี้ระยะกลางคุณภาพดีทั้งในและต่างประเทศ

เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ คาดหวังความสม่ำเสมอของผลตอบแทน
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

2. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลสมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFSINCRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารหนี้ / กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund / กลุ่มกองทุนรวม Global Bond Fully F/X Hedge

ระดับความเสี่ยง: ระดับ 5 เสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง

สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนตราสารหนี้หลากหลายประเภททั่วโลก

เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี รับความเสี่ยงได้ตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป และต้องการสร้างความสม่ำเสมอของผลตอบแทน

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

3. กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นไดนามิคเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFDNMRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารทุน / กลุ่มกองทุนรวม Equity General

ระดับความเสี่ยง: ระดับ 6 เสี่ยงสูง

สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนเชิงรุก เพื่อมุ่งหวังผลตอบแทนสูงกว่าดัชนี SET TRI

เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี ความเสี่ยงได้ตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไป และสามารถรับความผันผวนของราคาหุ้นที่กองทุนไปลงทุนได้

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

4. กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF)

ประเภทกองทุน: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ / กองทุนรวมตราสารทุน / กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund / กลุ่มกองทุนรวม Global Equity

ระดับความเสี่ยง: ระดับ 6 เสี่ยงสูง

สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนในหุ้นแบรนด์เด่นของบริษัทชั้นนำที่คนทั่วโลกเลือกใช้

เหมาะกับใคร: เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลดหย่อนภาษี และเพิ่มโอกาสลงทุนในอุตสาหกรรมสินค้าแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และมีชื่อเสียงทั่วโลก อยากเสริมความต้านทานให้พอร์ตการลงทุนจากภาวะเศรษฐกิจ

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก

การวางแผนลงทุน RMF ลดหย่อนภาษี และการลงทุนสำหรับพอร์ตเกษียณของมนุษย์เงินเดือน เป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน และควรวางแผนตั้งแต่ต้นปี เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกองทุน RMF เพิ่มเติมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงิน การลงทุน และการลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ที่ช่องทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 น. – 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน

  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • RMF เป็นกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
  • KFAFIXRMF, KFSINCRMF อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วน หรือทั้งจำนวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการ
  • KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้