เอบีม คอนซัลติ้ง ชี้ให้เห็นถึงข้อได้เปรียบของ “Data Democratization”

  • การจัดการข้อมูลที่เอื้อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกและทั่วถึงสำหรับทุกคนสามารถนำไปสู่การตัดสินใจโดยมีข้อมูลเป็นพื้นฐานที่ดีขึ้นและความสำเร็จระยะยาวขององค์กร

เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ข้อมูลที่บริษัทและองค์กรสร้าง จัดเก็บ และนำไปใช้งานจะมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ข้อมูลจะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อมีการจัดการที่ดี และวิธีหนึ่งที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการนำข้อมูลไปใช้คือการทำให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้โดยพนักงานภายในองค์กรจำนวนมากที่สุดเพื่อให้เกิดศักยภาพในการใช้ข้อมูลให้ดีที่สุด โดยทั่วไปข้อมูลของบริษัทจะถูกจัดเก็บและจัดการเป็นส่วน ๆ แยกกันและดูแลควบคุมโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีขององค์กร เมื่อต้องการใช้ข้อมูล พนักงานจะต้องส่งคำขอไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นขึ้นตอนที่อาจกินเวลานาน ในบางกรณีที่เจ้าหน้าที่ด้านไอทีมีงานล้นมือ คำขอนั้นอาจไม่ได้การตอบรับอย่างทันท่วงที หรือไม่ได้รับการจัดการใด ๆ เลย การทำให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและง่ายดาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ Data Democratization จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แก้ปัญหานี้ได้

Businesswoman standing in VR environment. This is entirely 3D generated image.

ศูนย์วิจัยทางเทคโนโลยี Gartner ระบุว่า Data Democratization คือหนึ่งในเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดเทรนด์หนึ่งของทศวรรษ โดยเป็นการทำให้ข้อมูลดิจิทัลเป็นสิ่งที่คนทั่วไปในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยมีเป้าหมายคือการเอื้อให้พนักงานที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ โดยหลักการสำคัญคือทำให้ทุกคนภายในองค์กรสามารถเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลที่ต้องการนำไปใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างการตัดสินใจที่มีข้อมูลเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาได้ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การเติบโตและความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร

ประโยชน์ที่พนักงานขององค์กรจะได้รับจาก Data Democratization คือความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความมั่นใจในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้เกิดการตัดสินใจเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กรด้วยตัวเลือกที่ดีขึ้น Data Democratization ยังทำให้เกิดมุมมองเชิงลึกของลูกค้าที่กว้างขึ้นจากข้อมูลทุกส่วนภายในองค์กร รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้และการวิเคราะห์อย่างเหมาะสมยังจะช่วยให้องค์กรสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า มากไปกว่านั้นยังช่วยให้องค์กรสร้างการตัดสินใจที่สำคัญได้ทันท่วงที ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้อย่างมั่นใจ และสร้างการตัดสินเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

System for Document Management (DMS). Software that automates the archiving and management of data files. Concept of Internet Technology.

ในการที่องค์กรจะทำ Data Democratization หรือทำข้อมูลให้เป็นประชาธิปไตยให้สำเร็จได้นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการปรับปรุงโครงสร้างและจัดการข้อจำกัดด้านดิจิทัลในองค์กรเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลแห่งเดียวกันเพียงแห่งเดียวได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ Data Virtualization มาช่วย เพื่อลดความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ภายในองค์กร แพลตฟอร์มนี้ยังช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูล และสามารถดำเนินการภายใต้นโยบายด้านความปลอดภัยได้

ในการให้พนักงานทุกคนเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้โดยไม่ต้องพึ่งเจ้าหน้าที่ด้านไอทีของบริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอก องค์กรควรสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือ Machine Learning หรือการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วย แพลตฟอร์ม Automated Machine Learning (AutoML) ซึ่งสามารถสร้างฟังก็ชันที่ครอบคลุมและสนับสนุนกระบวนการ machine learning ทั้งหมด ตั้งแต่การเข้าถึงและการเตรียมข้อมูล การออกแบบโมเดล Machine Learning การฝึกอบรม และการประเมิน ไปจนถึงการนำไปใช้ และการติดตามตรวจสอบการทำงานของโมเดลที่นำไปใช้ แพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยให้พนักงานที่มีทักษะด้านเทคนิคที่แตกต่างกัน ตั้งแต่กลุ่มที่เขียนโค้ดไม่ได้เลย กลุ่มที่พอมีทักษะอยู่บ้าง และกลุ่มโค้ดเดอร์ที่มีความชำนาญ สามารถสร้างการวิเคราะห์ขั้นสูงได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และสร้างคุณค่าให้กับองค์กรผ่าน Data Democratization

ประการสุดท้าย ทุกคนในองค์กรควรได้รับการเรียนรู้ด้าน Data Democratization โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้บริหาร กระบวนการประเมินและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ Data Democratization เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์และสร้างประโยชน์มากที่สุด ที่สำคัญคือองค์กรต้องระลึกว่า Data Democratization คือกระบวนการที่ต้องดำเนินไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ภาวะสุดท้ายที่ต้องการ และต้องมีกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนประชาธิปไตยข้อมูลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในองค์กรเพื่อให้แนวทางนี้ประสบความสำเร็จ

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) หนึ่งในบริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันชั้นนำของโลก ได้รับการติดต่อสอบถามเรื่อง Data Democratization จากลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ และได้มองเห็นถึงประโยชน์มากมายจากการนำวิธีการนี้ไปใช้ในการประกอบธุรกิจ

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มอบบริการที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ขั้นสูงให้กับบริษัทมากมายทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการติดตั้งโซลูชันทางเทคโนโลยีให้แก่ลูกค้า และทำให้องค์มากมายเข้าใกล้เป้าหมายของ Data Democratization ในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น นอกจากเทคโนโลยีแล้ว เอบีมยังสามารถให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนและดำเนินการตามแผนงานที่สร้างขึ้นและปรับให้เหมาะกับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ของลูกค้าแต่ละองค์กรอีกด้วย

เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด

  • บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีทีมงานกว่า 6,600 คน ที่ให้บริการลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และยุโรป เปิดให้บริการที่ปรึกษาในประเทศไทยเมื่อปี 2548 บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง  (ประเทศไทย) มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คน ที่ให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาธุรกิจ และ Digital Transformation เพื่อช่วยให้บริษัทและองค์กรต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในฐานะพันธมิตรที่สร้างสรรค์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมและสังคมให้ก้าวสู่การเปลี่ยน