“เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส” ร่วมกับ Kasetsart University Rail Engineering Center (KU Rail) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหน่วยงานด้านการขนส่งทางราง จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ RAIL Asia 2023 & Transport Infrastructure Asia 2023
“เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส” ร่วมกับ Kasetsart University Rail Engineering Center (KU Rail) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหน่วยงานด้านการขนส่งทางราง จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ RAIL Asia 2023 & Transport Infrastructure Asia 2023 โดยมี Mr. David Aitken, Managing Director Asian Exhibition Services Ltd. กล่าวเปิดงาน และมี รศ.ดร.วิชัย ศิวะโกศิษฐ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประธาน IRSE Thailand section, KU Rail พร้อมด้วย รศ.ดร.สุชาติ เหลืองประเสริฐ รองคณบดีฝ่ายบริหาร กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน
งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 19 อาคารภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภายในงาน ประกอบด้วย การมอบทุนการศึกษา การบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบรางทั้งในและต่างประเทศ
นายเดวิด เอ๊ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัทผู้จัดแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดิน และเทคโนโลยีระบบราง เปิดเผยถึงความสำเร็จการจัดงานว่า ไฮไลท์การจัดงานในปีนี้ได้รับความร่วมมือหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ในการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านโปรแกรมการประชุมด้านเทคโนโลยี ระบบราง และเทคโนโลยีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม หรือ RAIL Asia & Transport Infrastructure Asia มีความโดดเด่นในหัวข้อการประชุมที่เป็นสนในอุตสาหกรรมระบบราง อาทิ
ระบบส่งสัญญาณสำหรับรถไฟสายหลักในประเทศไทย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย,การลดคาร์บอนในประเทศไทยและEEC โดย ผศ.ดร.เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี,โครงการรถไฟและโมโนเรล โดยดร.อาวาเดห์ อับเดล บาเซส ผู้จัดการฝ่ายบูรณาการระบบและวิศวะกรรม บริษัทนอร์เทิร์นบางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) และบริษัท อีสเทิร์น บางกอก โมโนเรล จำกัด ( EBM), โครงการ Land Bridge โดยนายจิรโรจน์ สุกลรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบขนส่งและจราจรภูมิภาค สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), การขยายตัวของระบบขนส่งทางรางประเทศไทย โดยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหัวข้ออื่นๆ มากมาย
นายเดวิด ได้กล่าวต่อว่า สำหรับงาน Rail Asia 2024 ในปีหน้านั่น จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 11-12 ธันวาคม 2567 รายละเอียดสถานที่หรือข้อมูลข่าวสารอื่นๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยติดต่อทีมงานโดยตรงที่rail@aes-exhibitions.com; www.railasiaexpo.com.
ด้าน รศ.ดร.วิชัย ศิวะโกศิษฐ รองศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธาน IRSE Thailand section KU Rail มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ในงาน RAIL Asia 2023 จะมีการเสวนา จัดประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เทคโนโลยีรถไฟฟ้าใหม่ๆ อัพเดทล่าสุดมานำเสนอ ภาครัฐเอกชนจะได้พบปะผู้ที่เข้ามานำเสนอเทคโนโลยีใหม่กับทางผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง
นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวถึง งาน Rail Asia 2023 เป็นงานที่สำคัญที่ดึงคนในอุตสาหกรรมระบบรางมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อให้เกิดพัฒนาการขนส่งในไทย และมองว่าภาพรวมการขยายตัวของอุตสาหกรรมระบบรางในขณะนี้มีความก้าวหน้าไปอย่างชัดเจน เกิดรถไฟฟ้าสายต่างของประเทศไทย มีรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ล่าสุดได้เปิดบริการสายสีชมพูราคา 20 บาทตลอดสาย
ในภารกิจหลักของกรมฯ จะมี 2 ส่วนหลัก การดูแลความสะดวกสบาย ความปลอดภัยให้กับประชาชนที่ใช้บริการระบบราง รวมถึงสนันสนุนภาคเอกชน รับฟังความคิดเห็นต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงบริหารงาน ในขณะเดียวกันก็มีหน้าทีควบคุมไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้ใช้บริการ โดยได้มีข้อกำหนดกฎหมายออกมาคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ปลายปีหน้า ซึ่งขั้นตอนปัจจุบันร่างกฎหมายรอเข้าสู่การประชุมสภาในวาระหน้า เพื่อการพิจารณาออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป
ทั้งนี้ในงาน RAIL Asia 2023 โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ได้มีการประชุมเสวนาหัวข้อ โครงการ Land Bridge พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงขนส่งอ่าวไทย-อันดามัน ได้รับความสนใจอย่างมาก
นายจิรโรจน์ สุกลรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบขนส่งและจราจรภูมิภาค กล่าวถึง โครงการ Land Bridge ว่า จากโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง อ่าวไทยและอันดามัน “แลนด์บริดจ์” สะพานเศรษฐกิจภาคใต้ (ชุมพร-ระนอง) ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) และถ้าสามารถลงทุนพัฒนาโครงการนี้ได้สำเร็จ นั่นหมายถึงจะเป็นอภิมหาเมกะโปรเจกต์ของประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสองฝั่งทะเลของอ่าวไทย ภายใต้โครงการที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างกันด้วยระบบราง (รถไฟทางคู่) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ภายใต้แนวคิด” One Port Two Side” จุดเด่นที่เหนือกว่ามะละกา
สำหรับโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย – อันดามัน หรือที่เรียกว่า Land Bridge ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาพเอกชน ในเบื้องต้นทางที่ประชุมได้ดำเนินการในส่วนแรกที่ตั้งไว้คือค่าเวนคืนพื้นที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องภาครัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนของการลงทุนในเรื่องโครงสร้างต่างๆ จะเป็นส่วนของภาคเอกชนซึ่งต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างเยอะ ทั้งนี้ภาคเอกชนก็ดียังมองว่าภาครัฐเองจะช่วยอย่างไรอีกได้บ้างกับ model แรกนี้ ในส่วนของขนาด Feeder วัดตู้ได้ 8,000 ตู้ (maximum) (ไซส์ของเรือที่เข้าแหลมฉบัง) สำหรับส่วนที่เป็น main line คือไซส์ 12,000 ตู้ขึ้นไป นั่นหมายถึง การทำ Land Bridge ในครั้งนี้ เราดึง Feeder เป็นจุดเด่น เมื่อเทียบกับช่องแคบมะละกา ที่มีเรือบรรทุกสินค้าผ่านเพียง 600 ลำ/วัน
การทำ Land Bridge สะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย – อันดามัน จึงถือเป็นประตูการค้าใหม่ ที่สามารถพลิกโฉมเส้นทางขนส่งระดับโลก เมื่อได้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการลงทุนแล้ว (Business Development Model) เมื่อดูจากจากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย ที่มีความได้เปรียบที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้งสองด้านจึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์ทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ได้เป็นอย่างดี