มูลนิธิอาเซียนจับมือหัวเว่ยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

อินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา, มูลนิธิอาเซียนและหัวเว่ยลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัล ในการประชุมสุดยอดว่าด้วยทักษะด้านดิจิทัลประจำปี พ.ศ. 2564 ณ งานเอเชียแปซิฟิก อินโนเวชัน เดย์ (Asia Pacific Innovation Day – Digital Talent Summit 2021) เมื่อเร็วๆ นี้ ผ่านการประชุมออนไลน์โดยมีผู้จัดทำนโยบาย นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขต่างๆ และกรณีตัวอย่างในการสร้างอีโคซิสเต็ม เพื่อช่วยเสริมสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

การประชุมสุดยอดว่าด้วยทักษะด้านดิจิทัลประจำปี พ.ศ. 2564 ในงานเอเชียแปซิฟิก อินโนเวชัน เดย์ เริ่มเปิดงานด้วยสุนทรพจน์จากผู้นำภาครัฐต่างๆ อาทิ รองเลขาธิการอาเซียน ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community) โรเบิร์ต มัธเธอุส ไมเคิล เทเน (Robert Matheus Michael Tene) ประธานที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล ดาโต๊ะ ศรี โมฮัมหมัด เม็นเต็ค (Chair of the ASEAN Digital Senior Official Meeting Dato’ Sri Mohammad Mentek) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งกัมพูชา ดร. เชีย วานเด็ธ (Minister of Posts and Telecommunications of Cambodia Dr. Chea Vandeth) หัวหน้าสำนักประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พลเอก กองทัพแห่งชาติ (เกษียณ) ดร. โมเอลโดโก (Chief of Presidential Staff of the Republic of Indonesia General TNI (Purn) Dr. Moeldoko) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬาแห่งศรีลังกา นามาล ราชปักษา (Minister of Youth and Sports of Sri Lanka Hon. Namal Rajapaksa) เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจำประเทศจีน โฮเซ ซานติเอโก แอล. สตา. โรมานา (Philippine Ambassador to China H.E. Jose Santiago L. Sta. Romana) และปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไลซึ่งสุนทรพจน์ของทุกท่านได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนารากฐานที่เข้มแข็งสำหรับระบบนิเวศด้านทักษะดิจิทัลในภูมิภาคนี้

รองเลขาธิการอาเซียน ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน โรเบิร์ต มัธเธอุส ไมเคิล เทเน กล่าวว่า “การประชุมสุดยอดว่าด้วยทักษะด้านดิจิทัล ปี พ.ศ. 2564 ที่มุ่งหมายเพื่อการปรึกษาหารือและกล่าวถึงความสำคัญในเรื่องความต้องการเยาวชนอาเซียนที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีไอซีทีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลางวิกฤตการณ์โรคระบาดทั่วโลกที่ทำให้เราต้องหันมาพึ่งพาแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  การประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล พ.. 2568 ในด้านการเพิ่มพูนศักยภาพของประชาชนที่จะมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล”

“นวัตกรรมและการพัฒนาต้องอาศัยอีโคซิสเต็มและบุคลากรที่มีทักษะ หัวเว่ยพร้อมร่วมงานกับพันธมิตรของเราเพื่อสร้างอีโคซิสเต็มและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะเอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่หัวเว่ยได้ร่วมงานกับพันธมิตรต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกที่มีเป้าหมายเดียวกัน เรามาร่วมกันสร้างอีโคซิสเต็มที่ครอบคลุม สร้างสรรค์และยิ่งใหญ่ ที่สามารถดึงดูดและบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลให้เพิ่มขึ้น และร่วมผลักดันการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในภูมิภาคแห่งนี้ไปด้วยกัน” รองประธานอาวุโสและคณะกรรมการ หัวเว่ย แคทเธอรีน เฉิน ได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์เปิดงาน

ในการประชุมโต๊ะกลมผ่านออนไลน์ยังได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของบุคลากรด้านดิจิทัลในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากยูเนสโก (UNESCO) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union (ITU)) และสถาบันนโยบายสาธารณะลี กวน ยู (Lee Kuan Yew School of Public Policy) และแม็กซิส (Maxis) เข้าร่วม

อีกหนึ่งกิจกรรมหลักของการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ การนำเสนอวิสัยทัศน์ว่าด้วยทักษะด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ปี พ.ศ. 2565 ของหัวเว่ย ซึ่งสมุดปกขาวที่ได้รับการนำเสนอโดยที่ปรึกษาอาวุโสด้านการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลแห่งชาติ อเล็กซ์ ลี (Senior Consultant for National Digital Talent Development Alex Lee) แสดงถึงความเป็นมาของบริษัทที่เพียรพยายามปลูกฝังบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลในเอเชีย แปซิฟิกมาโดยตลอด

“การปลูกฝังระบบนิเวศของบุคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีไอซีทีอย่างมีนวัตกรรม ถือเป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล ด้วยนวัตกรรมร่วมกันที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เราจึงสามารถใช้ประโยชน์จากทักษะต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อโบยบินไปสู่อนาคตแห่งยุคดิจิทัล ทั้งนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรของเรามีแผนที่จะลงทุนกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลให้ได้ถึง 500,000 คนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก” ประธาน หัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก เจฟฟรีย์ หลิว (President of Huawei Asia Pacific Jeffery Liu) กล่าว

ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในเอเชีย แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียน เป็นที่ประจักษ์ชัดยิ่งขึ้นด้วยการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างมูลนิธิ ASEAN Foundation กับ Huawei ASEAN Academy เพื่อแสดงถึงความพร้อมของทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินโครงการ ASEAN Seeds for the Future ซึ่งเป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการ Seeds for the Future โครงการใหญ่เพื่อสังคมที่ริเริ่มและดำเนินการโดยหัวเว่ย เพื่อจัดการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลระดับโลกแก่เยาวชนทั่วโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ด้วยโครงการ ASEAN Seeds for the Future นี้ มูลนิธิ ASEAN Foundation และ Huawei ASEAN Academy จะร่วมกันสร้างเยาวชนในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศให้มีศักยภาพทางด้านดิจิทัลรองรับการก้าวไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีกรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน ดร. หยาง มี เอ็ง (Executive Director of ASEAN Foundation Dr. Yang Mee Eng) และรองประธาน หัวเว่ย อินโดนีเซีย อัลเบิร์ต หยาง (Vice President of Huawei Indonesia Albert Yang) เป็นผู้แทนทั้งสองฝ่าย และมีผู้แทนถาวรราชอาณาจักรกัมพูชาประจำอาเซียน เอกอัครราชทูต เยียบ ซัมนัง (Permanent Representative of the Kingdom of Cambodia to ASEAN H.E. Amb. Yeap Samnang) รองเลขาธิการอาเซียน ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community) โรเบิร์ต มัธเธอุส ไมเคิล เทเน (H.E. Robert Matheus Michael Tene) รองผู้แทนถาวรฟิลิปปินส์ประจำอาเซียน อลิซาเบธ เต (Deputy Permanent Representative of the Philippines to ASEAN Elizabeth Te) รองผู้แทนถาวรสาธารณรัฐสิงคโปร์ประจำอาเซียน ธัม บอร์ก เซียน (Deputy PermanentRepresentative of Republic of Singapore to ASEAN Tham Borg Tsien) และคุณเจย์ เฉิน รองประธานหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก (Huawei Asia Pacific Vice President Jay Chen) เป็นสักขีพยาน

โครงการ ASEAN Seeds for the Future จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล พ.. 2568 เพื่อเพิ่มศักยภาพของเยาวชนในภูมิภาคให้มีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลและสร้างสังคมดิจิทัลสำหรับทุกคนในอาเซียน  โดยโครงการ ASEAN Seeds for the Future จะเริ่มในช่วงต้นปี พ.ศ. 2565 โดยได้เชิญเยาวชนอายุระหว่าง 15 – 30 ปี ในอาเซียนเข้าร่วมการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ในโครงการสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำและทักษะด้านดิจิทัล

กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน ดร. หยาง มี เอ็ง (Executive Director of ASEAN Foundation Dr. Yang Mee Eng) กล่าวว่า “มูลนิธิมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการลงนามบันทึกความเข้าใจกับหัวเว่ยเพื่อดำเนินโครงการ ASEAN Seeds for the Future ผมเชื่อว่าโครงการระดับภูมิภาคนี้จะมีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในภูมิภาคนี้ ด้วยการเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นแก่เยาวชนอาเซียนให้พร้อมรับมือกับยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิกับหัวเว่ยนับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งสำหรับอาเซียน ในการร่วมมือกับพันธมิตรภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในอาเซียน”