นิทรรศการ “The Duality of Home” ผลงานศิลปะที่สะท้อนความหมายของการเดินทางข้ามผ่านวัฒนธรรม ของนักเรียนไทยด้านศิลปะและการออกแบบในอเมริกา

เมื่อต้องไปเรียนที่ต่างแดน ทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ จากการทับซ้อนทางวัฒนธรรม, สิ่งแวดล้อมที่ต่างออกไป และอัตลักษณ์ส่วนบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้พบเจอมา เป็นที่มาของนิทรรศการ “The Duality of Home” งานแสดง ผลงานศิลปะที่สะท้อนความหมายของการเดินทางข้ามผ่านวัฒนธรรมตามแบบฉบับนักเรียนศิลปะและการออกแบบในสหรัฐอเมริกา ทั้งภาพวาด, เซรามิค, ผ้าและสิ่งทอ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, เฟอร์นิเจอร์, ภาพพิมพ์ และอื่นๆ

ปพนวิทย์ วณิชประภา, ปราชญ์ กำภู แสงรัตน์, ธานี แสงรัตน์, ชลทิพย์ กำภู แสงรัตน์, ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา และณัชชา ภักดีกิจเจริญ
ปราชญ์ กำภู แสงรัตน์, ธานี แสงรัตน์ และ ชลทิพย์ กำภู แสงรัตน์

พร้อมชวนให้ทุกคนหาความหมายของคำว่า “บ้าน” ในความหมายและรูปแบบของตัวเอง จัดโดย Thai Creative Student Collective (TCSC) องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และเครือข่ายนักเรียนไทยด้านศิลปะและการออกแบบในสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-20 สิงหาคม 2566 ณ Slowcombo ชั้น 3 ซอยจุฬา 50 โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

(ซ้าย) ชาลินี กิติยากร ณ อยุธยา (ขวา) เพลินจันทร์ วิญญรัตน์
ณัชชา ภักดีกิจเจริญ, ปพนวิทย์ วณิชประภา และ ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา ผู้ร่วมก่อตั้ง TCSC

โดยมีท่านทูตธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน เป็นประธานเปิดงาน และ ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา, ณัชชา ภักดีกิจเจริญ เเละ ปพนวิทย์ วณิชประภา ผู้ร่วมก่อตั้ง Thai Creative Student Collective (TCSC) ให้การต้อนรับ

(ซ้าย) จุฑาพร เตียงรัตนกูล และกุลวิทย์ วณิชประภา (ขวา) นุติ์ นิ่มสมบุญ และคล้ายเดือน สุขะหุต
(ซ้าย) พรชัย – วรารักษ์ ปฏิภาณปรีชาวุฒิ (ขวา) วริศรา ปฏิภาณปรีชาวุฒิ
(ซ้าย) พรทิพย์ อรรถการวงศ์ และธีรพจน์ ธีโรภาส (ขวา) ภาเกตุ – วรปราณี – ภูรดา คูสมิทธิ์

พร้อมด้วย เพลินจันทร์ วิญญรัตน์, ชาลินี – วรธีร์ กิติยากร ณ อยุธยา, อัปสรศิริ จุณณานนท์, ม.ล. ศศิภา – ม.ล.จันทราภา – ม.ร.ว. พร้อมฉัตร – ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์, คริสโตเฟอร์ เฟิรน์, นุติ์ นิ่มสมบุญ, คล้ายเดือน สุขะหุต , กาณฑ์ มาเสถียรวงศ์, อริสรา ชาญวีรกูล ปราชญ์ – ชลทิพย์ กำภู แสงรัตน์, พรทิพย์ อรรถการวงศ์, ธีรพจน์ ธีโรภาส, กรพัฒ รุดดิษฐ์, จิตรญา ตรีสรณาคม ร่วมงานเปิดนิทรรศการ ณ Slowcombo ชั้น 3 ซอยจุฬา 50 เมื่อวันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566

ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา ผู้ร่วมก่อตั้ง TCSC

ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา, ณัชชา ภักดีกิจเจริญ เเละ ปพนวิทย์ วณิชประภา ผู้ก่อตั้งร่วมของ Thai Creative Student Collective (TCSC) เล่าว่า TCSC เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักเรียนไทยด้านศิลปะและการออกแบบจาก Rhode Island school of design (RISD) มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงศักยภาพด้านศิลปะและการออกแบบของนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา นำมาซึ่งการเปิดโอกาสด้านอาชีพทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศให้กว้างขึ้นสำหรับนักเรียนรุ่นต่อๆ ไป ซึ่งงานนี้ถือเป็นกิจกรรมครั้งแรกขององค์กรในการจัดแสดงผลงานศิลปะของนักเรียนไทยจากหลากหลายสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกา

วรธีร์ กิติยากร ณ อยุธยา, คริสโตเฟอร์ เฟิร์น, ม.ล. ศศิภา – ม.ล.จันทราภา – ม.ร.ว. พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ – ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ และ ชาลินี กิติยากร ณ อยุธยา

สำหรับนิทรรศการ “The Duality of Home” มีไฮไลต์ผลงานศิลปะหลากหลายแขนง และการออกแบบรูปแบบต่างๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวคำว่าบ้านในมุมมองใหม่จากความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจของนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกาทั้ง 20 คน ที่ได้รับการคัดเลือกให้จัดแสดงงานในครั้งนี้

นิทรรศการ “The Duality of Home”
ชื่อผลงาน Chiang Mai Night Market Woven Rug, 2023 ของ ปารมี ปัญจพลาสม
ผลงาน Complexity and Contradiction โดย ณดา รอดอนันต์
ผลงาน Stillness โดย ณัชชา ภักดีกิจเจริญ

ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบที่เป็นขั้วตรงข้าม แต่สามารถพึ่งพาและอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ขาวดำ แสงเงา, ภาพยนตร์ที่นำเสนอเรื่องราวของความเพียรและการเติบโตท่ามกลางความรู้สึกแปลกแยกขณะที่อยู่ต่างแดน โดยเฉพาะในช่วงโรคระบาด, ผลงาน Only for the First Time จากแรงบันดาลใจจากการมองเห็นสัจธรรมของโลก แม้ว่าเวลาจะเดินไปข้างหน้าแต่สถานที่ยังคงเดิม ในขณะที่คนและความสัมพันธ์เปลี่ยนไป และบ้านไม่ใช่ที่อยู่ หรือที่ที่เราไปเที่ยว แต่หมายถึงคนที่เราอยู่ด้วย,

ชื่อผลงาน Home, Home and Home 2023 ของ อันน์ จริงจัง
ชื่อผลงาน Playblocks ของ จิรัชฌา เลิศเธียรดำรง
ผลงาน Chevy Buddy โดย เชฟวี่ จันทร์ไพบูลย์รัตน์
ผลงาน malai.115 – โดย วริศรา ปฏิภาณปรีชาวุฒิ

การบอกเล่าถึงอัตลักษณ์ทางสังคมของนักศึกษาที่ผสานกับธรรมชาติของโลกสมัยใหม่ผ่านการเขียน และบทเพลง, การส่งต่อแนวคิดความเป็นไทย และความละเมียดละไมของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยๆ ด้วยการนำโลหะมาพับตามรูปแบบการพับใบเตย เกิดเป็นจุดบรรจบของสิ่งใหม่และสิ่งเก่าอย่างลงตัว, ผลงาน Stillness เป็นฟิวส์กลาส คือเทคนิคหลอมแก้ว ผ่านความ ร้อนสูง ให้เนื้อแก้วอ่อนตัวแล้วทําให้เกิดรูปทรง คล้ายกับเงาสะท้อนของนํ้า นับเป็นการแสดงออกซึ่งตัวตนอย่างเต็มที่ รวมทั้งการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านลวดลายแบบไทยดั้งเดิมบนสิ่งทอและเส้นด้าย ที่ได้แรงบันดาลใจจากความคึกคักและสีสันของตลาดกลางคืน

วรธีร์ – ชาลินี – ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา
ผลงานชื่อ “กระทง” ของ ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา

ตัวอย่างผลงานภายในงานนิทรรศการฯ อาทิผลงานชื่อ “กระทง” ของ ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา จาก Rhode Island School of Designผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นแนว Industrial เป็นการนำความต่างของ 2 วัฒนธรรมมาผสมผสานกัน โดยนำเหล็กแผ่นมาพับตามวิธีการพับใบเตยของไทย และนำมาประกอบเป็นรูปทรงกระทง และนำมาใส่ในกล่องที่มีแสงไฟด้านใน ทำให้เมื่อดูผ่านเลนส์จากกล้องหรือมือถือ จะได้เงาสะท้อนของกระทงในมุมที่หลากหลาย และต่างไปจากเดิม

ผลงานชื่อ “กระทง” ของ ณัฐณิชา กิติยากร ณ อยุธยา

ซึ่งกระทงก็เหมือนตนเองที่อยู่ในวัฒนธรรมที่หลากหลาย เมื่อมองจากมุมที่ต่างกัน ก็จะเห็นรูปทรงที่ต่างออกไป จึงนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ ส่วนตัวตนเองชอบทำงานศิลปะและมีความสุขทุกครั้งที่ได้ออกแบบสิ่งต่างๆ เหมือนเป็นได้การพักผ่อน และช่วยให้มีสมาธิ

อัปสรศิริ จุณณานนท์ และ ดมิสา วนาสวัสดิ์
ชื่อผลงาน Night vision โดย ดมิสา วนาสวัสดิ์
ผลงาน Room # 104 โดย ดมิสา วนาสวัสดิ์

4 ผลงานภาพวาดสีน้ำมัน และสีอะครีลิคบนแคนวาส ชื่อ Escape Landscaping, Room # 104, Night Vision และ Between a portrait and a flower ของ ดมิสา วนาสวัสดิ์ จาก Rhode Island School of Design ได้แรงบันดาลใจในการสร้างผลงานมาจากการที่ได้เดินทางไปมาระหว่าง 2 ประเทศที่มีวัฒนธรรมที่ต่างกัน ทำให้รู้สึกว่าตนเองต้องมีความยืนหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับที่นั้นๆ จึงถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดแนว Abstract ที่ให้ความรู้สึกลื่นไหลเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกันบางภาพก็สื่อถึงภายในจิตใจของตัวเองที่เหมือนห้องลับที่มีความสงบ นิ่งและเรียบง่ายอยู่ สำหรับการจัดแสดงผลงานในครั้งนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต ทำให้ตื่นเต้นมากที่จะได้มีคนเข้ามาชมผลงานของเราค่ะ

พล.ต.ท.วรเศรษฐ – ชัญญ่า – ชยุตา – ชยุต วิทยกุล
กาณฑ์ มาเสถียรวงศ์ และอริสรา ชาญวีรกูล

อีกหนึ่งความเอ็กซ์คลูซีฟกับกิจกรรม Creative’s Panel Talk การเสวนาแชร์ประสบการณ์จากผู้มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จด้านแฟชั่น, ศิลปะ, ดีไซน์และภาพยนตร์ อาทิ จงกล พลาฤทธิ์ แฟชั่นไดเรคเตอร์จาก Vogue Thailand, วสุ วิรัชศิลป์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Vaslab ห้องทดลองทางสถาปัตยกรรม, พรทิพย์ อรรถการวงศ์ ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ชื่อดังจาก ATT19, วิณ โชคคติวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและดีไซเนอร์แบรนด์ Vinn Patararin, กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง FabCafe Bangkok, จันทรา จันทร์พิทักษ์ชัย จิวเวลรี่ดีไซน์เนอร์แบรนด์Leila Amulet และค็อด สตรูแสยง ผู้กำกับภาพยนตร์ ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 เวลา 16.00 – 18.30 น.จำหน่ายบัตรราคา 650 บาท สำหรับ

(ซ้าย) อัปสรศิริ จุณณานนท์ (ขวา) พริมา ภักดีกิจเจริญ
(ซ้าย) สุชาติ – สุภัทรา เตชาพลาเลิศ (ขวา) กรพัฒ รุดดิษฐ์ และ จิตรญา ตรีสรณาคม

ประชาชนทั่วไป และราคา 450 บาท สำหรับนักเรียนนักศึกษา บัตรมีจำนวนจำกัด ผู้สนใจสามารถซื้อบัตรเข้าร่วมงานเสวนาได้ที่ Instagram : @tcscollective หรือซื้อบัตรได้ที่หน้างาน

ศุภณัฐฎ์ บุญจรัสรวี, พิชญ์ ภูมิสวัสดิ์, ณิชมาศ เฉลิมพลานุภาพ, วรินยุพา ชินโชติลี้สกุล และ ลดาวัลย์ จินดาไตรรัตน์

ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการThe Duality of Home ได้ตั้งแต่วันนี้ – 20 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ Slowcombo ชั้น 3 ซอยจุฬา 50 โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ดูรายละเอียดและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Instagram : @tcscollective หรือ ID Line : Tess.ktykra