“เรียน-เล่น-รู้” โมเดล “เรียนออนไลน์” ให้ได้ผลลัพธ์เป็นเลิศจากสิงคโปร์

ระยะเวลากว่า 2 ปี ที่โรงเรียนทุกระดับชั้นต้องปรับตัวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โรงเรียนทั่วโลกต้องหาทางรับมือกับผลกระทบที่ตามมา แน่นอนที่สุดคือ เด็กจะเสียโอกาสได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะตามพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย การปรับรูปแบบการสอนจากการเรียนในโรงเรียนไปสู่ “การเรียนออนไลน์” ต้องเจอกับโจทย์ที่ท้าทายที่ว่า จะทำอย่างไรให้เด็กยังคงเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่อาจจะไม่เอื้อต่อการเรียน โดยเฉพาะกับเด็กเล็กหรือที่เรียกว่า “เด็กปฐมวัย” ที่ต้องปรับตัวมากขึ้น ด้วยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ สมาธิการเรียนจะสั้นกว่าเด็กโต การออกแบบการเรียนจึงต้องสอดคล้องไปกับพฤติกรรมและพัฒนาการของพวกเขา

ผลวิจัยของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและผลกระทบจากการเรียนออนไลน์ และการจัดการด้านสุขภาพ ประเด็นที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเด็กวัย 6-15 ปี โดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เตรียมศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะมีความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นมากถึง 74.9% เชื่อมโยงกับงานสำรวจของ Washington Post จากผู้ปกครองที่มีลูกอายุต่ำกว่า 12 ปี และต้องเรียนออนไลน์ พบว่าลูกตัวเองเครียดขึ้น ก้าวร้าวขึ้น เบื่ออาหาร มีปัญหาเจ็บตาหรือตาอ่อนล้ามากขึ้น ในขณะที่ประเทศจีน นักเรียนในมณฑลหูเป่ยที่อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่ต้นปี 2563 นักเรียนเกรด 2 ถึง 6 (ป.2-ป.6) จำนวน 2,330 คน พบว่ามีนักเรียนมากถึง 40% ที่เผชิญความเครียดและวิตกกังวลเช่นกัน

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลให้การเรียนออนไลน์ไม่ประสบผลสำเร็จและทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนลดลงกว่า 20-50% มาจากผู้เรียนขาดสมาธิไม่จดจ่อกับการเรียน หรือมีสิ่งเร้ารอบด้าน อีกทั้งบรรยากาศการเรียนเป็นไปอย่างน่าเบื่อ เนื่องจากไม่มีปฏิสัมพันธ์กันภายในห้องเรียน อีกทั้งการวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเป็นไปได้ยาก

แม้การเรียนออนไลน์จะมีอุปสรรคและสร้างผลกระทบต่อเด็กยุคนี้หลายด้าน แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า รูปแบบการเรียนในอนาคตจะเปลี่ยนไปและการเรียนออนไลน์จะจำเป็นและสำคัญมากขึ้น ดังนั้น แนวทางสำคัญในการแก้ปัญหาคือ ต้องสร้างระบบนิเวศให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

จริงๆ แล้วมีหลายประเทศที่สามารถปรับรูปแบบการเรียนการสอน สิงคโปร์ก็เป็นอีกประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการเรียนการสอนในช่วงที่เด็กต้องเรียนแบบไฮบริด อาทิ ‘การเรียนแบบผสม’ (Blended Learning) ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งจัดสรรเวลาให้กับทั้งการเรียนที่โรงเรียนและการเรียนจากบ้านควบคู่กัน โดยกำหนดให้ในแต่ละเดือนมี 2 วันที่นักเรียนจะได้เรียนจากบ้าน (Home-based Learning – HBL) ที่สำคัญการเรียนแบบ HBL ของสิงคโปร์ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกเรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจนอกหลักสูตรได้ เช่น เรียนภาษาต่างประเทศอื่นๆ หรือเรียนดนตรี แนวทางการเรียนออนไลน์ของสิงคโปร์จึงไม่ใช่การนั่งเรียนเนื้อหาวิชาการผ่านจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังกระตุ้นให้เด็กสนใจที่จะเรียนรู้และค้นหาตัวเอง

จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ของการเรียนที่ไม่สัมฤทธิ์ผลและอุปสรรคต่างๆ ไม่ได้อยู่ที่ “การเรียนออนไลน์” แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการและรูปแบบการสอนที่ต้องปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน รวมถึงหลักสูตรที่ต้องออกแบบโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีเช้ามาช่วยให้การเรียนสนุกยิ่งขึ้น

LingoAce แพลตฟอร์มเรียนภาษาจีนออนไลน์สำหรับเด็กจากประเทศสิงคโปร์ ที่มียอดผู้เรียนอันดับ 1 ในไทย ยกโมเดลการเรียนเหมือนเล่นมาไว้บนแพลตฟอร์มเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเรียนภาษาจีนอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์สถานการณ์ในปัจจุบัน ภายใต้แนวคิด Learner First คำนึงถึงความต้องการของผู้เรียนเป็นอันดับแรก

ด้วยรูปแบบการเรียนที่เน้นการมีส่วนร่วมแบบ Gamification and Interactive จำลองสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการเรียนแบบชาวจีนแท้ๆ ผ่านเกม เพลง บทบาทสมมติ หรือวิธีการอื่นๆ ประกอบการเรียน ซึ่งเด็กๆ สามารถตอบโต้ได้ทันที อีกทั้งยังนำวิธีการเรียนแบบ Immersive Learning หรือ ปรับเปลี่ยนวิธีการตอบโต้ที่หลากหลายแทนการแปลตามตัวอักษร เพื่อขยายความคำศัพท์และวลีต่างๆ ให้เด็กๆ ได้ฝึกกระบวนการคิดบนพื้นฐานภาษาจีนตั้งแต่แรก ทำให้การเรียนภาษาจีนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ ครูผู้สอนก็จะสอนแบบ Total Physical Response หรือการใช้ท่าทางประกอบการสอน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ความสนุกสนานและกระตุ้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจโดยไม่ต้องท่องจำ สอนโดยเจ้าของภาษาตัวจริงที่มีประสบการณ์การสอนภาษาจีนมากกว่า 3 ปี ทำให้การเรียนภาษาจีนบนแพลตฟอร์ม LingoAce กลายเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ความรู้และสนุกไปพร้อมๆ กัน

LingoAce ยังปรับหลักสูตรและกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะกับพัฒนาการของเด็กวัย 6-15 ปี เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ได้มากกว่าความรู้และยังเสริมทักษะด้านภาษาและความสนุกไปในตัว ที่สำคัญจะเลือกทำกิจกรรมสนุกๆ แบบนี้ที่ไหน เมื่อไรก็ได้ผ่านแอปฯ LingoAce เรียนคลาสสดแบบเรียลไทม์กับเพื่อนวัยเดียวกันหรือเปิดเรียนย้อนหลังเพื่อทบทวนเนื้อหาก็ได้ ผู้ปกครองยังสามารถติดตามพัฒนาการของลูกผ่านแอปฯ ได้ตลอดเวลา

ต้องไม่ลืมว่าจากนี้ไป “ภาษาจีน” จะกลายเป็นภาษาที่มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยอิทธิพลของจีนที่มีต่อทั่วโลกและระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง LingoAce แพลตฟอร์มเรียนภาษาจีนออนไลน์สำหรับเด็กจากประเทศสิงคโปร์  ที่มีจุดแข็งครบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสอนภาษาที่ถอดแบบมาจากแนวคิดการศึกษาของสิงคโปร์ที่เน้นให้เด็กเรียนเหมือนเล่น การคัดเลือกครูผู้สอน ไปจนถึงการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบจำนวนโปรแกรมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศเพื่อให้ตอบโจทย์การเรียนของเด็กให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของผู้เรียนในประเทศนั้นๆ ทำให้ LingoAce ได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองทั่วโลกและครองอันดับ 1 แพลตฟอร์มเรียนภาษาจีนออนไลน์สำหรับเด็กที่ดีที่สุด

ลงทะเบียนเพื่อทดลองเรียนฟรี และรับสิทธิ์โปรโมชั่นสุดคุ้มที่