รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) จังหวัดแพร่ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 28 สิงหาคม 2567
ด้วยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีนโยบายให้จัดตั้งศูนย์เร่งรัดจัดการ สวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) (Human Security Emergency Management Center : HuSEC) เพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการช่วยเหลือให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีภารกิจในการ ปฏิบัติการ นโยบาย ประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ปฏิบัติการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์และการสื่อสารสังคมเชิงรุก ในการสร้างการรับรู้แก่ทุกภาคส่วน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ปัญหาทางสังคม โดยมีทีมปฏิบัติการ หน่วยเคลื่อนที่เร็วศูนย์เร่งรัดการจัดสวัสดิภาพประชาชนระดับจังหวัด และภาคีเครือข่ายร่วมปฏิบัติการในการ ขับเคลื่อนงานศูนย์เร่งรัดการจัดสวัสดิภาพประชาชน
จังหวัดแพร่ ได้จัดตั้งศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชนจังหวัดแพร่ ตามคำสั่งจังหวัดแพร่ ที่ 228/2567 ลงวันที่ 31 มกราคม 2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพ ประชาชนจังหวัดแพร่ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทีมพม.หนึ่งเดียวจังหวัดแพร่ ในการมอบหมายเจ้าหน้าที่ ในหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบของชุดปฏิบัติการศูนย์เร่งรัดการจัดสวัสดิภาพประชาชนจังหวัดแพร่ หรือ ทีมหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน และ กลุ่มเป้าหมายผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้อย่างทันท่วงทีตามระเบียบที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม
สำหรับผลการปฏิบัติงานของศูนย์เร่งรัดการจัดสวัสดิภาพประชาชนจังหวัดแพร่ (ศรส.จ.แพร่) ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชน และกลุ่มเป้าหมายผู้ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่จังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 28 สิงหาคม 2567 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 117 กรณี แบ่งออกเป็น เพศชาย จำนวน 52 กรณี และเพศหญิง จำนวน 65 กรณี ซึ่งการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทาง สังคมที่ผ่านมานั้นได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือครอบคลุมทั้ง 8 อำเภอของจังหวัดแพร่ ซึ่งอำเภอที่มีผู้ประสบ ปัญหาทางสังคมขอรับความช่วยเหลือมากที่สุด คือ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอลอง และอำเภอร้องกวาง ตามลำดับ (รายละเอียดตามตารางที่ 1)
สำหรับช่องทางการขอรับความช่วยเหลือของผู้ประสบปัญหาทางสังคมนั้นสามารถ ขอรับความช่วยเหลือได้หลากหลายช่องทาง เช่น สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300, ข่าวออนไลน์, เพจเฟสบุ๊ค, ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม (ESS Help Me), การเฝ้าระวังจากศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคง ของมนุษย์ (ศปก.พม.), การประสานส่งต่อจากหน่วยงานอื่น และการขอรับความช่วยเหลือ ด้วยตนเอง (Walk in) เป็นต้น โดยการดำเนินงานของศรส. ที่ผ่านมา พบว่า การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ ปัญหาทางสังคมส่วนใหญ่แล้วได้รับจากช่องทางสายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 (รายละเอียดตามตารางที่ 2) โดยกลุ่มเป้าหมายของผู้ประสบปัญหาทางสังคมที่ขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) มากที่สุดคือ คนพิการ ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ตามลำดับ (รายละเอียดตามตารางที่ 3)
จากการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่จังหวัดแพร่ตามบทบาท ภารกิจของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) สามารถจำแนกสภาพปัญหาที่ผู้ประสบปัญหาทาง สังคมขอรับความช่วยเหลือมากที่สุดได้ 5 สภาพปัญหา ดังนี้
- ปัญหารายได้ความเป็นอยู่ จำนวน 55 กรณี
- ปัญหาสิทธิ สวัสดิการ และกฎหมาย จำนวน 34 กรณี
- ปัญหาสุขภาพ/อุบัติเหตุ/แจ้งเหตุด่วน จำนวน 17 กรณี
- ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว จำนวน 9 กรณี
- ปัญหาความรุนแรง จำนวน 5 กรณี
ทั้งนี้ ในการดำเนินงานของศูนย์เร่งรัดการจัดสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) ระดับจังหวัดที่สามารถ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน และกลุ่มเป้าหมายผู้ประสบปัญหาทางสังคมได้อย่าง ทันท่วงทีนั้นก็ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เป็นภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแพร่
ตารางที่ 1 ตารางรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมโดยจำแนกตามอำเภอ
ลำดับ | อำเภอ | จำนวน (กรณี) |
1 | เมืองแพร่ | 35 |
2 | เด่นชัย | 2 |
3 | สอง | 9 |
4 | สูงเม่น | 11 |
5 | ร้องกวาง | 17 |
6 | ลอง | 29 |
7 | วังชิ้น | 12 |
8 | หนองม่วงไข่ | 2 |
รวม | 117 |
ตารางที่ 2 ตารางรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมโดยจำแนกช่องทางการ ขอรับความช่วยเหลือของผู้ประสบปัญหาทางสังคม
ช่อทางการใช้บริการ | จำนวน (กรณี) |
สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 | 110 |
ศปก.พม. | 7 |
Walk in | 0 |
0 | |
Line | 0 |
ESS Help Me | 0 |
ประสานส่งต่อ | 0 |
รวม | 117 |
ตารางที่ 3 ตารางรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมโดยจำแนกกลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน (กรณี) |
เด็ก | 11 |
เยาวชน | 3 |
ผู้ใหญ่ | 35 |
พิการ | 39 |
ผู้สูงอายุ | 29 |
รวม | 117 |