เหตุการณ์โลกในปัจจุบันมีผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศอย่างไร?

ไม่บ่อยนักที่เหตุการณ์ระดับโลกจะส่งผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศได้รุนแรงดังเช่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 วิกฤตโลกครั้งนี้จึงเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และมีผลให้การเดินทางระหว่างประเทศแบบปกติที่เราคุ้นชินมีความยุ่งยากและท้าทายมากขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจากองค์การการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้การเดินทางในปี 2563 ลดลงถึง 73% เมื่อเทียบกับปี 2562 ซึ่งผู้เดินทางลดลงเป็นจำนวนถึงหนึ่งพันล้านคน หลังจากนั้นในปี 2564 การท่องเที่ยวทั่วโลกได้เติบโตขึ้นอีกครั้งถึง 4%

เป็นเวลากว่า 2 ปีที่เรามีมาตรการตรวจตราผู้เดินทางกันอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็ยังพบว่ามีผู้เดินทางที่ประสบปัญหาสภาวะ “Travel shock” แม้ว่าจะมีการตรวจคัดครองโรคก่อนเดินทาง และมีการผ่อนคลายมาตรการการกักตัวลงบ้างแล้ว ด้วยจำนวนเที่ยวบินที่ถูกยกเลิกรวมถึงสภาวะการขาดแคลนพนักงาน ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการเผชิญโรคระบาดครั้งใหญ่ ปัญหาเหล่านี้มีผลต่อการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจและยังคงสร้างความเสียหายต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ไม่เพียงแต่การเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ ธุรกิจที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศและต้องมีการเดินทางระหว่างประเทศก็ได้รับผลกระทบ องค์กรเหล่านี้เชื่อว่าการเดินทางระหว่างประเทศยังคงเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และควรสร้างมั่นใจให้พนักงานผู้เดินทางมีทักษะในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ดี

เหตุการณ์ระดับโลกอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โรคระบาด

แม้ว่าการระบาดใหญ่จะเป็นปัจจัยหลักทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความเสี่ยงของการเดินทางและความไม่แน่นอน การเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้านสุขภาพและความปลอดภัยอื่น ๆ ก็ยังคงทำให้เกิดความซับซ้อนของความเสี่ยงด้านการเดินทางในภาพโดยรวมอย่างต่อเนื่อง ภาวะการขาดแคลนแรงงานและการดำเนินการของอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อตารางการบินและรถไฟ ในขณะที่ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นเช่นกัน

สราวุฒิ ธัมจุล ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัย APAC ของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส กล่าวว่า “ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ อย่างพายุเฮอริเคน ไฟป่า น้ำท่วม และภูเขาไฟระเบิด ทำให้เส้นทางการเดินทางทั่วไปหยุดชะงักชั่วคราว เช่น เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ที่เกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดในประเทศตองกา สร้างเมฆเถ้าภูเขาขนาดยักษ์ ซึ่งทำให้เที่ยวบินต้องหยุดชะงักชั่วคราวทั่วคาบมหาสมุทรแปซิฟิก หรือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น หิมะถล่มที่เกิดจากธารน้ำแข็งบนยอดเขามาร์โมลาดาถล่มในประเทศอิตาลี ทำให้เกิดข้อจำกัดของการเดินทางในเทือกเขาแอลป์ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้เดินทางตามลำดับ”

สราวุฒิกล่าวเสริมว่า “เหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย การเลือกตั้ง และการแข่งขันกีฬาระดับโลก ล้วนมีส่วนทำให้เกิดการเดินทางระหว่างประเทศเกิดการหยุดชะงักทั้งสิ้น”

เดินทางอย่างมั่นใจ

จากข้อมูลของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอสในปี 2562 เราพบว่าอุตสาหกรรมการเดินทางระหว่างประเทศฟื้นตัวขึ้นถึง 44% เมื่อเทียบกับยุคก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 การเดินทางระหว่างประเทศมีการเติบโตเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 15% ต่อเดือนในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมานี้

แม้ว่าข้อมูลนี้จะเป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งชี้แนวโน้มของการกลับมาเดินทางของกลุ่มธุรกิจต่างๆ แต่เหตุการณ์โลกต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่แล้วหรือเกิดขึ้นใหม่ อาจทำให้การเดินทางหยุดชะงัก เราจึงจำเป็นต้องฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้เดินทาง

สำหรับประเทศที่มีภัยคุกคามหลายด้าน รวมถึงประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำอยู่แล้ว สิ่งนี้เป็นตัวสร้างความรับผิดชอบขององค์กรต่างๆ ในการตรวจสอบข้อมูลการเดินทาง การให้คำแนะนำ และการฝึกอบรมแก่พนักงาน

แม้ว่ามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดจะค่อยๆ ผ่อนคลายลง และเห็นถึงความต้องการในการเดินทางไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การให้ความรู้แก่ผู้เดินทางยังคงมีความสำคัญและอาจจะสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา

บทสรุป

แนวโน้มและพฤติกรรมการเดินทางในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงระยะเวลาอันสั้น แม้แต่ผู้เดินทางที่มีประสบการณ์และความมั่นใจก็เหมือนนักเดินทางมือใหม่เมื่อพวกเขาต้องกลับมาเดินทางอีกครั้ง แม้จะไปยังจุดหมายปลายทางที่คุ้นเคยก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วมักมีปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือเหตุอื่น เหล่านี้ล้วนแต่มีผลกระทบต่อการเดินทางระหว่างประเทศทั้งสิ้น

หากคุณเป็นผู้เดินทางต่างประเทศ ขอแนะนำให้ติดตามเหตุการณ์ระดับโลกต่างๆ เพราะการประเมินและการรู้วิธีลดความเสี่ยงต่างๆ จะเป็นตัวช่วยประกอบการตัดสินได้เป็นอย่างดีเมื่อต้องเดินทางไปยังต่างประเทศ

นายจ้างที่มีพนักงานเดินทางไปต่างประเทศ ก็สามารถนำหลักการนี้ไปใช้ได้เช่นกัน รวมทั้งควรพิจารณาว่าเหตุการณ์ระดับโลกในปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่อความยืดหยุ่นขององค์กรและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างไร การปรับนโยบายการบริหารความเสี่ยงในการเดินทางให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญ

สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของพนักงานเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง การใช้มาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านการเดินทางที่แข็งแกร่ง เช่น ISO 31030 มีความสำคัญต่อการเดินทางเพื่อธุรกิจในปัจจุบัน และนี่คือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ ณ สภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่เราสามารถสนับสนุนคุณได้

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอสอยู่แนวหน้าในการสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านการเดินทางมานานหลายทศวรรษ หากต้องการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยในที่ต่าง ๆ  คุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนที่ความเสี่ยง (Travel Risk Map) ของเรา เพียงระบุตำแหน่งเพื่อให้แผนที่แสดงความเสี่ยงในบริเวณที่คุณอยู่

ผู้เชี่ยวชาญของเราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อลดความซับซ้อนของขั้นตอนในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการปรับนโยบายหรือแผนการเดินทางให้ทันสมัย การหารือเกี่ยวกับความท้าทายในการปฏิบัติงานและภัยคุกคาม หรือให้คำแนะนำก่อนการเดินทาง