เรื่องน่ารู้ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
การต่อพ.ร.บ.รถยนต์เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยต่อ พ.ร.บ.รถยนต์มาก่อนคงสงสัยว่าต่อพ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก
ความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์
ก่อนไปดูว่าการ ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง ต้องรู้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับตามกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ เนื่องจาก พ.ร.บ.รถยนต์ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพให้กับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ทำให้ผู้ได้รับบาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิตได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว และเมื่อได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูกยังจะได้รับเงินชดเชยอย่างเหมาะสมอีกด้วย
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนที่เพิ่งมีรถหรือเพิ่งต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ครั้งแรกจะไม่รู้ว่า ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง เพราะไม่เคยดำเนินการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มาก่อน แต่ในความจริงแล้วการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารเพียงไม่กี่อย่าง ได้แก่
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ
- ใบขับขี่เจ้าของรถ
- เล่มทะเบียนรถยนต์หรือสำเนา
- พ.ร.บ. ฉบับเดิม
ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ไหม
สำหรับคนที่สงสัยว่าไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ไหม แน่นอนว่าคำตอบคือ “ไม่ได้” เนื่องจากตามกฎหมายแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประกันภัยภาคบังคับที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องต่อทุกปี แต่หากไม่ยอมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์บอกเลยว่าจะตามมาด้วยปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- มีความผิดตามกฎหมายและเสียค่าปรับ
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้มีการกำหนดค่าปรับของการนำรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. มาใช้อย่างชัดเจน โดยกรณีเจ้าของรถจะมีโทษค่าปรับสูงสุด 10,000 บาท ส่วนคนที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. มาใช้งานต้องโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท แต่หากเจ้าของรถเป็นผู้นำรถที่ไม่มี พ.ร.บ. มาใช้เองจะต้องโทษปรับสูงถึง 20,000 บาท
- ต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้
เนื่องจากต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ในการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งนอกจากจะต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้แล้ว ต้องเสียค่าปรับในการต่อภาษีถ้าไม่ได้ต่อในระยะไม่เกิน 1 ปี ปล่อยไว้เกิน 2 ปี ต้องนำรถไปตรวจสภาพ เสียค่าปรับ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการต่อทะเบียน แต่หากทิ้งไว้ไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี จะต้องถูกระงับใช้ทะเบียนรถทันที ต้องดำเนินการจดทะเบียนใหม่และเสียค่าปรับภาษีย้อนหลัง
- ไม่สามารถดำเนินการธุรกรรมทางการเงินได้
เพราะรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. ถือเป็นรถที่กระทำผิดกฎหมาย ทำให้สถาบันทางการเงินมองว่าเป็นรถที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นสถาบันการเงินต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด อีกทั้งยังประเมินราคาของรถยนต์ได้ยาก
ค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
อย่างที่รู้กันแล้วว่า ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง แต่นอกจากต้องเตรียมเอกสารแล้ว ยังต้องเตรียมค่าใช้จ่ายในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ โดยรถยนต์แต่ละประเภทมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ ขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 499 บาท
- รถกระบะ 2 ประตู ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 799 บาท
- รถตู้ ค่าต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ 999 บาท
หมายเหตุ : อ้างอิงราคา พ.ร.บ. จากเว็บไซต์บริษัทประกันออนไลน์ insurverse
เป็นอย่างไรบ้างสำหรับคำตอบของคำถามที่ว่าต่อพ.ร.บ.รถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง ซึ่งจากคำตอบจะเห็นว่าการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีความสำคัญมาก เพราะไม่เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังมีโอกาสเสียค่าปรับหากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบ ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ รวมถึงเสียโอกาสในการนำรถไปดำเนินธุรกรรมทางด้านการเงิน ที่สำคัญ พ.ร.บ. รถยนต์ยังช่วยคุ้มครองผู้ใช้รถ ผู้โดยสาร และคนเดินเท้า ทำให้รู้สึกปลอดภัยในทุกวินาทีที่ใช้ถนน